การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ

All Journals

งานประชุมวิชาการการสื่อสารระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565

หลักการและเหตุผล

          ด้วย คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และสภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงานประชุมบทความทางวิชาการการสื่อสารระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภายในและภายนอกสถาบัน (ด้านสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์) ได้นำเสนอบทความทางวิชาการจากวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ ต่อที่ประชุม โดยให้มีการวิพากษ์ วิจารณ์ บทความวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการภายนอกร่วมกลั่นกรอง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างกว้างขวาง

 

 

ประกาศรายชื่อและกำหนดการนำเสนอผลงาน ในงานประชุมวิชาการด้านการสื่อสารระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 จะประกาศอีกครั้งในภายหลัง

 

กำหนดการ

รายละเอียด  
งานประชุมวิชาการ วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาส่งบทความ บัดนี้ - 15 มิถุนายน 2565
รูปแบบการจัดงาน ออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM

การส่งบทความ

ส่งบทความได้ที่  https://forms.gle/4T2wehUamzz7nh7y9 

รูปแบบบทความ

     1. พิมพ์บทความด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรม Microsoft Word แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 Point ในหน้ากระดาษ A4 ความยาวประมาณ 10 – 15 หน้า

     2. เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษซ้าย 1.5 ด้านขวา 1 นิ้ว เว้นขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว และด้านล่าง 1 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.0 Point ใส่ตัวเลขกำกับทุกหน้าที่มุมขวาบน

     3. ชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษด้วยตัวหนาขนาด 18 Point ชื่อผู้เขียนพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยอักษรธรรมดา 16 Point ส่วนหัวข้อหลักอื่น ๆ พิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวหนาขนาด 16 Point

     4. รายละเอียดของบทความประกอบด้วย

          4.1 ชื่อเรื่องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          4.2 ชื่อผู้เขียน / อาจารย์ที่ปรึกษา และหน่วยงานที่สังกัด

          4.3 เนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

                4.3.1 บทคัดย่อ (ความยาวไม่เกิน 300 คำ) และ คำสำคัญ

                4.3.2 Abstract (ความยาวไม่เกิน 300 คำ) และ keyword

                4.3.3 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย (ถ้ามี)

                4.3.4 ทบทวนวรรณกรรม

                4.3.5 ระเบียบวิธีวิจัย

                4.3.6 ผลการวิจัย

                4.3.7 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

                4.3.8 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

     5. การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงให้ใช้รูปแบบของ APA 7 (American Psychological Association: 7th Edition)

     6. ส่งบทความมาทาง google form ที่ลิงก์: https://forms.gle/4T2wehUamzz7nh7y9 

     7. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมทางอีเมล gscm.nida@gmail.com 

หมายเหตุ

     บทความที่นำเสนอต้องยึดจริยธรรมของการตีพิมพ์ (Publication Ethics) กล่าวคือ

          1. ผู้เขียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผลงานของตน

          2. มีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

          3. เป็นบทความที่ยังไม่เคยเผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างกระบวนการเผยแพร่ทางช่องทางอื่น

          4. ในกรณีเป็นบทความจากวิทยานิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา

 

คำแนะนำ

  • บทคัดย่อ (Abstract) : ควรเขียนขึ้นใหม่ มิใช่นำมาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ บทคัดย่อในบทความนี้ จะมีเพียงย่อหน้าเดียว เนื้อหาไม่ควรเกิน 10 บรรทัด ไม่ต้องกล่าวถึงชื่อเรื่องซ้ำอีก ให้กล่าวว่า การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร (โดยย่อ ไม่ต้องเขียนเป็นข้อๆ) ใช้วิธีการวิจัยอย่างไร (รูปแบบการวิจัย ประชากรเป้าหมาย ขนาดตัวอย่าง หรือแหล่งข้อมูล) ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่าอย่างไร (เน้นไปที่ผลการทดสอบสมมติฐานหรือประเด็นสำคัญตามวัตถุประสงค์)
  • คำสำคัญ (Keyword) : เป็นคำศัพท์ที่แสดงว่า งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ควรตั้งเป็นคำนาม จำนวน 3-5 คำ
  • ที่มาและความสำคัญ : ควรเขียนขึ้นใหม่ มิใช่นำมาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ แต่ควรสรุปย่อให้มีเนื้อหาประมาณ 1-2 หน้า
  • วัตถุประสงค์ : สามารถนำมาจากรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ หรืออาจสรุปให้กระชับยิ่งขึ้นได้
  • กรอบแนวคิด : อาจแสดงด้วยแผนภาพ หรือเขียนพรรณนาสรุปถึงแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ไม่ควรใส่เฉพาะชื่อแนวคิดและทฤษฎี
  • วิธีการวิจัย : สรุปว่าใช้การวิจัยรูปแบบใด ประชากรหรือแหล่งข้อมูลเป็นใคร ขนาดตัวอย่างหรือจำนวนผู้ให้ข้อมูลเท่าไร เป็นใครบ้าง การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสั้น ๆ
  • ผลการวิจัยและอภิปรายผล : ไม่ควรนำผลการวิจัยในบทที่ 4 ของรายงานฉบับสมบูรณ์มาใส่ทั้งหมด แต่ควรเป็นการสรุปผลการวิจัย (เน้นไปที่ผลการทดสอบสมมติฐานหรือประเด็นสำคัญตามวัตถุประสงค์) โดยอาจจะกล่าวถึงผลการวิจัยและอภิปรายผลไปพร้อมกันในแต่ละประเด็นได้เลย ทั้งนี้อาจนำเสนอตารางหรือแผนภาพเฉพาะที่เป็นการสรุปผลการวิจัย ไม่ควรนำเสนอตารางหรือแผนภาพที่เป็นรายละเอียดทั้งหมด
  • ข้อเสนอแนะ  : ควรมีข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยในประเด็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องกล่าวทวนซ้ำถึงผลการวิจัย และอาจมีข้อเสนอแนะสำหรับเป็นแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไปด้วย แต่ไม่ควรขาดข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อาคารมาลัย หุวะนันทน์ ชั้น 8 เลขที่ 148 หมู่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

โทรศัพท์ : 0-2727-3759, 0-2727-3764, 09-0678-4690

อีเมล์ : gscm@nida.ac.th

Facebook : นิเทศ@NIDA

www.gscm.nida.ac.th