วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า (E-JOURNAL)

วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า (e-Journal) วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงานบทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research article) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article)เพื่อเป็นแหล่งในการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม และเพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์บุคลากร และนักศึกษา วารสารทั้งหมด

All E-Journal

วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า (E-JOURNAL)

Journal of communication and management NIDA (e-Journal)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแหล่งในการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

2. เพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์บุคลากร และนักศึกษา

ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร

1. เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงานบทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research article) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article)

2. กำหนดเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ

หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ

1. บทความที่จะได้รับการเผยแพร่ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด

2. บทความที่จะได้รับการเผยแพร่ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างต่ำตามเกณฑ์มาตรฐาน คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนอย่างน้อย 2 ท่านขึ้นไปต่อบทความ

3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาเผยแพร่

4. การยอมรับเรื่องที่จะเผยแพร่เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาเผยแพร่ทุกเรื่อง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร

ลักษณะของบทความที่จะรับ

1. บทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการในสาขานิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร ที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

2. ต้นฉบับงานจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกบทความ

ประเภทของบทความที่จะรับ

1. บทความวิชาการ (Article)

2. สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความวิจัย (Research article)

3. บทความปริทัศน์ (Review article)

4. วิจารณ์หนังสือ (Book review)

5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของนักวิจัยอื่นๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ

รูปแบบการเขียนบทความ

- บทความต้องมีความยาวจำนวน 10-15 หน้า กระดาษ A4

- รูปแบบตัวอักษร TH Saraban New

o ชื่อเรื่อง และหัวข้อ ใช้อักษร ขนาด 18 พอยท์ ตัวหนา และจัดให้อยู่กึ่งกลาง

o เนื้อหา ใช้อักษร ขนาด 16 พอยท์

o การกั้นขอบกระดาษ ด้านบน 1 นิ้ว ด้านล่าง 1 นิ้ว ด้านซ้าย 1.25 นิ้ว ด้านขวา 1.25 นิ้ว

o การอ้างอิงในเนื้อความ ใช้ระบบ APA Style

o บรรณานุกรม แยกเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ใช้ตามแบบที่วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า กำหนด

ส่วนประกอบของบทความ มีดังนี้

 

ก. หน้าแรก บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย 1 หน้า (ไม่เกิน 250 คำ) และภาษาอังกฤษ 1 (ไม่เกิน 250 คำ) หน้า โดยประกอบด้วย

 

1. ชื่อบทความ (Title)

2. ชื่อผู้เขียนทุกคน (Authors) ให้ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม

3. ให้เขียนตำแหน่งทางวิชาการ และที่อยู่สำหรับการติดต่อทางไปรษณีย์ของผู้เขียนทุกคนในเชิงอรรถด้านล่างกระดาษ

4. ให้เขียนเครื่องหมาย* ไว้บนชื่อบทความเพื่อระบุแหล่งทุนที่ได้รับการอุดหนุนไว้ในเชิงอรรถและให้เขียนเครื่องหมาย** ไว้หลังนามสกุลเพื่อระบุสังกัด ภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย เมือง จังหวัด ไว้ในเชิงอรรถ

5. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 200 คำ

 

บทคัดย่อบทความวิจัย ขอให้เขียนบทคัดย่อแยกเป็น 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัย สมมติฐาน ประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อหน้าที่ 2 ให้อธิบายวิธีวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ย่อหน้าที่ 3 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) บทคัดย่อบทความวิชาการ ให้เขียนสรุปประเด็นสำคัญของบทความพร้อมทั้งตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ถูกต้องก่อนส่งบทความ

 

6. คำสำคัญ (Keywords) ความยาวไม่เกิน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

7. ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding author) ให้ทำเครื่องหมายไว้บนนามสกุลและระบุหมายเลขโทรศัพท์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ไว้ในเชิงอรรถ

 

ข. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

 

1. บทนำ (Introduction)

2. วัตถุประสงค์ (Objective)

3. วิธีการทดลอง (Materials and methods) หรือ วิธีการศึกษา (Research methodology) เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยแต่ละประเภท

4. ผลการทดลองและวิจารณ์ผลหรือผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and Discussion)

5. สรุป (Conclusion)

6. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย

7. บรรณานุกรมใช้รูปแบบ APA 6th edition

การจัดส่งบทความ

ผู้แต่งสามารถส่งบทความ เพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า ทาง www.gscm.nida.ac.th หรือที่ Email : gscm@nida.ac.th

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

ศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ

บรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ

กองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รองศาสตราจารย์ ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอภาส มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ เกษมศุข สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรรรณ ประจักษ์เนตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กองจัดการ

นางสาวธันย์ชนก จันทร์รุ่งเรือง

นายเอกพงษ์ สิทธิพงษ์

เจ้าของ

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สำนักงาน

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 118 หมู่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

SEND Conference

SEND Conference