Scholarships

Scholarships & Education Award

Scholarships & Education Award

ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ประจำภาค 1/2565

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เป็นนักศึกษาสามัญ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม ภาคปกติ
  • มีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน
  • หากมิใช่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนเป็นภาคการศึกษาแรก จะต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
  • ในกรณีที่ลงทะเบียนเป็นภาคการศึกษาแรก จะต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00
  • ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1, 2, 3
  • มีความเต็มใจและสามารถปฏิบัติงานด้านวิชาการให้กับคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง

2. วิธีการสมัคร
      สมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่บัดนี้ - 9 พฤศจิกายน 2565  โดยขอรับใบสมัคร หรือสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1664867459.pdf และยื่นใบสมัครด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานการสมัครได้ที่ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ ชั้น 8 อาคารมาลัย หุวะนันทน์

3. หลักฐานการสมัคร

  • ใบสมัครตามแบบสถาบัน
  • สำเนาใบแสดงผลการศึกษาในภาคเรียนล่าสุด 1 ฉบับ (กรณีที่ลงทะเบียนเป็นภาคแรกให้แนบสำเนาใบแจ้งคะแนน Transcript ระดับปริญญาตรี)
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (กรณีชื่อ - ชื่อสกุลไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)

หมายเหตุ เอกสารที่นำมาสมัครขอรับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาทางคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ จะไม่คืนเอกสารให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

4. วิธีการคัดเลือก
คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากใบสมัครและการสัมภาษณ์ผู้สมัคร การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

5. เงื่อนไขและการรับทุน

  • ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาเท่ากับจำนวนเงินค่าหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนในภาคการศึกษาที่ 1/2565
  • ผู้รับทุนจะต้องปฏิบัติงานด้านวิชาการให้กับคณะ หรือสถาบัน สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง ในภาคการศึกษาที่ได้รับทุน

 

  • ประกาศ รับสมัครทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ประจำภาค 1/2565
  • ใบสมัครทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ประจำภาค 1/2565
  • ทุนวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน

    คุณสมบัติ
    1. เป็นนักศึกษาสามัญของสถาบันระดับปริญญาเอก หรือระดับปริญญาโทที่เลือกศึกษาตามแผน ก.

    2. ได้รับอนุมัติหัวข้อและเค้าโครงวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว ไม่เกิน 1 ภาคการศึกษา นับจากวันที่สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านโดยไม่นับภาคฤดูร้อน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นผู้รับรอง

    การสมัครขอรับทุน
    1. ผู้สมัครขอรับทุนจะต้องยื่นใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) พร้อมเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้ว และแนบความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) ที่คณะที่ผู้ขอรับทุนการศึกษาอยู่ เพื่อให้คณบดีลงนามในท้ายแบบฟอร์มความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 
    2. คณะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งใบสมัครและหลักฐานต่างๆของผู้สมัครขอรับทุนไปยังกองบริการการศึกษา เพื่อให้กองบริการการศึกษาราบรวมเสนอที่ประชุม ทคอ.การศึกษา พิจารณาต่อไป

    ประเภทของทุน
    จำแนกตามระดับของวิทยานิพนธ์เป็น 2 ประเภท คือ
    1. ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 40,000 บาท
    2. ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 20,000 บาท

    การพิจารณาให้ทุน
    การพิจารณาคัดเลือกและอนุมัติการให้ทุนเป็นอำนาจหน้าที่และดุลยพินิจของที่ประชุม ทคอ.การศึกษาของสถาบัน และผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด โดยสถาบันจะประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนให้ทราบโดยทั่วกัน สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนอุดหนุนในการเสนอครั้งแรก สามารถยื่นขอรับทุนในคราวต่อไปได้

    การจ่ายเงินทุน
    ให้ผู้รับทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากเงินงบประมาณแผ่นดิน ได้รับเงินทุนโดยแบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) 3 งวด โดยระดับปริญญาเอกให้แบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็น 30 : 30 : 40 และปริญญาโทให้แบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็น 30 : 30 : 40 ของจำนวนเงินทุนที่ได้รับทั้งหมด ดังนี้

    ครั้งที่ 1 เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติให้ได้รับทุน
    - 12,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
    - 6,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

    ครั้งที่ 2 เมื่อนักศึกษารายงานความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์ตามแผนโครงการ
    - 12,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
    - 6,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

    ครั้งที่ 3
    - 16,000 บาท (40%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่กรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) กำหนด โดยไม่รวม Proceedings
    - 8,000 บาท (40%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รัยการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2) โดยไม่รวม Proceedings

    เงื่อนไขการรับทุน
    1. ผู้รับทุนจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าของการทำวิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งแนบความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด)
    2. หากผู้รับทุนมีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์จากหัวข้อเดิมที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ การเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และต้องได้รับอนุมัติจาดคณบดี จากนั้นให้แจ้งที่ประชุม ทคอ.การศึกษาทราบ
    3. หากผู้รับทุนยุติการทำวิทยานิพนธ์ ให้ถือเป็นการระงับทุนไปโดยปริยาย

    4. กรณีผู้รับทุนได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ผลงานวิทยานิพนธ์ยังไม่สามารถตีพิมพ์ได้ตามเงื่อนไขการรับทุนครั้งที่ 3 ผู้รับทุนสามารถดำเนินการเสนอผลงานในวารสารฉบับใหม่ตามเกณฑ์การได้รับทุน ทั้งนี้ หากเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารระดับนานาชาติ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ภายใน 2 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา หรือหากเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารระดับชาติ (TCI) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ภายใน 1 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา และหากไม่สามารถดำเนินการได้จะหมดสิทธิ์รับทุนครั้งที่ 3

    ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์
    ลิขสิทธ์ในวิทยานิพนธ์ให้เป็นลิขสิทธ์ร่วมระหว่างนักศึกษาผู้รับทุนกับสถาบัน เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นให้ลิขสิทธ์ในวิทยานิพนธ์ตกเป็นของนักศึกษาผู้รับทุน หากผู้รับทุนดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิ์ใดๆ ทางกฏหมายของผู้อื่น “ผู้รับทุน” ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่อการละเมิดสิทธิ์นั้นแต่เพียงผู้เดียว
    ประกาศรับสมัครและใบสมัครทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ใบสมัคร ขอรับทุนวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
  • แบบรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์
  • หลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
  • ขั้นตอนการขอทุนสนับนุนการทำวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
  • รางวัลเรียนดี

    รางวัลเรียนดีมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติแก่นักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาและมีผลการศึกษาดี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามุ่งขวนขวายให้ผลการศึกษาของตนดีขึ้น

    คุณสมบัติ
    1. ต้องเป็นนักศึกษาหลักสูตรชั้นปริญญาโทที่ได้เรียนมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 24 หน่วยกิต (ไม่นับรวมวิชาไม่นับหน่วยกิต) โดยลงทะเบียนต่อเนื่องกันทุกภาคและในแต่ละภาคการศึกษา (ยกเว้นภาคฤดูร้อน) จะต้องลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาภาคปกติ หรือไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาภาคพิเศษ
    2. มีผลการศึกษาภาคการศึกษาที่เรียนครบ 24 หน่วยกิต คิดเป็นระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.75

     

  • ประกาศ รางวัลเรียนดี ประจำปี 2563
  • ทุนเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

    คุณสมบัติ
         1. เป็นนักศึกษาแรกเข้าระดับปริญญาโท ภาคปกติ  และมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
         2. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความจำเป็นขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน
         3. ในการรับรองรายได้ตามข้อ 2 ให้ผู้ขอรับทุนแนบหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ มาพร้อมใบสมัครรับทุน
             - หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ขอรับทุน / บิดามารดา / คู่สมรส (ถ้ามี)
             - หลักฐานการชำระภาษี หากครอบครัวไ่มีเงินเดือน หรือรายได้ประจำ อาจให้ผู้ขอรับทุนจัดหาบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาเป็นผู้รับรองรายได้ เช่น ข้าราชการระดับปฏิบัติการขึ้นไป / ข้าราชการทหารตำรวจ ระดับชั้นสัญญาบัตร / พนักงานราชการ พนักงานราชวิสาหกิจ ต้องปฏิบัติมางานมาแฃ้วอย่างน้อย 3 ปี
             - หลักฐานอื่นใดที่แสดงถึงความเป็นผู้มีรายได้น้อย
         4. ไม่เป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาอื่นของสถาบัน ยกเง้น ทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
         5. มีความประพฤติดี ไม่ฝักใฝ่ในอบายมุข และสิ่งเสพติด
         6. ต้องไม่เคยได้รับโทษทางวินัยตามข้อบังคับสถาบันว่าด้วยวินัยนักศึกษา

    ประเภทของทุนและจำนวนทุน
         ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสถาบันระดับปริญญาโท ภาคปกติ ที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 2 ทุน ทุนละ 100,000 บาท

    การจ่ายเงินทุนและระยะเวลารับทุน
         ผู้รับทุนแต่ละรายจะได้รับเงินทุนค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตรตามค่าใช้จ่ายจริงเป็นรายภาคการศึกษา ยกเวันค่ากิจกรรมพิเศษ ทั้งนี้ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

    เงื่อนไขการรับทุน
         1. ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะระงับการให้ทุน
         2. หากผู้รับทุนลาออกหรือสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ถือเป็นการสิ้นสุดการรับทุน
         3. ระหว่างได้รับทุนนี้ ผู้รับทุนไม่มีสิทธิไปขอรับทุนอื่นๆ ของสถาบัน ยกเว้น ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน

    หลักฐานการสมัครขอรับทุน
         1. ใบสมัครขอรับทุน พร้อมรูปถ่าย 1 ใบ
         2. สำเนาใบแสดงผลการศึกษาในระดับปริญญาตรี
         3. หลักฐานการรับรองรายได้
         4. หลักฐานอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร

     

    ดาวน์โหลดเอกสาร

  • ประกาศ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทุนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  • ใบสมัคร ขอรับทุนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  • หนังสือรับรองรายได้ ทุนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์