สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
ทุนการศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และการจัดการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ หลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมการจัดการ เพื่อให้ศาสตร์แห่งการบริหารการพัฒนามีความทันสมัย ครบถ้วน และจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้สถาบันได้ก้าวสู่การเป็นสถาบันการศึกษาในระดับสากลต่อไป
ทำไมต้องนิเทศ นิด้า
หลักสูตร
ส่งเสริมการเรียนรู้และเปิดมุมมองใหม่ๆแบบนวัตกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ พลังทางความคิดที่ลึกซึ้งในการสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิจัย วางแผน ประเมินผล และประยุกต์ในวิชาชีพและผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆทางนิเทศศาสตร์
บุคลากร
ประกันคุณภาพทางวิชาการโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ในการสอน ความเป็นนักวิจัยคุณภาพที่ก้าวทันต่อความเปลี่ยน แปลงของวิชาชีพและองค์ความรู้ทางนิเทศศาสตร์
สถาบัน
ส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา โครงงานวิจัย และกิจกรรมทางวิชาการต่างๆกับสถาบันการศึกษาและองค์กรภาครัฐ และ เอกชน ทั้งในระดับ ประเทศ และ ระดับนานาชาติ
นักศึกษา
มุ่งมั่นและพร้อมที่จะเปิดโลกทัศน์ในการศึกษาที่แตกต่างในสาขานิเทศศาสตร์
ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาปริญญาโท
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผสมผสาน ทฤษฎีองค์ความรู้และแนวคิดทางนวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ อาทิ การตลาด สารสนเทศ การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาโครงการทางสังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน มุ่งเน้นผลิตนักนิเทศศาสตร์รุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถในภาคทฤษฎี รวมถึงพัฒนาศักยภาพและพลังทางความคิดที่ลึกซึ้งและการสร้างสรรค์ ในการวิเคราะห์ วิจัย วางแผน ประเมินผลและพัฒนาการดำเนินงานในเชิงประยุกต์ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ เครื่องจักร (Machine Learning) การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และหุ่นยนต์ (Bots) ในการขับเคลื่อนการจัดการการสื่อสาร และการสื่อสารการตลาด
- สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและดิจิทัล (i-Digital Marketing)
- สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (i-Creative)
- สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคม (i-Social Media)
- สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาพและการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน (i-Health Communication and Sustainability)
- ภาคในเวลาราชการ (ภาคปกติ) หน่วยกิตละ 1,500 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 102,500 บาท)
- ภาคนอกเวลาราชการ (ภาคพิเศษ) การเรียนการสอนภาษาไทย หน่วยกิตละ 6,000 บาท ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 237,700 บาท
- ภาคนอกเวลาราชการ (ภาคพิเศษ) English Program : เพิ่มค่าบำรุงหน่วยกิต หน่วยกิตละ 6,000 บาท ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 467,700 บาท
- ภาคในเวลาราชการ (ภาคปกติ) เรียนวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
- ภาคนอกเวลาราชการ (ภาคพิเศษ) เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
- มีประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 1 ปี (กรณีภาคพิเศษ) นับถึงวันเปิดภาคเรียน
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนทั้งใน และ / หรือ ต่างประเทศซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือสภา สถาบัน รับรองวิทยฐานะ
- ขอรับใบสมัครที่กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ
- สมัครออนไลน์ ได้ที่ http://entrance.nida.ac.th/
- ภาคในเวลาราชการ (ภาคปกติ) พิจารณาใบสมัคร คะแนนภาษาอังกฤษของสถาบัน 400 คะแนน (หรือ TOEFL 500 หรือ IELTS 5.5) สอบข้อเขียน ( วิชาเฉพาะ 8 ) และการสัมภาษณ์
- ภาคนอกเวลาราชการ (ภาคพิเศษ) พิจารณาใบสมัคร ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และสอบสัมภาษณ์
- สมัคร บัดนี้ - 5 เมษายน 2566
- ประกาศรายชื่อ และสถานที่สอบสัมภาษณ์ 12 เมษายน 2566
- วันสอบสัมภาษณ์ 17 - 28 เมษายน 2566
- ประกาศผลการคัดเลือก 17 พฤษภาคม 2566
- สมัครออนไลน์ บัดนี้ - 5 เมษายน 2566
- ประกาศรายชื่อ และสถานที่สอบสัมภาษณ์ 12 เมษายน 2566
- วันสอบสัมภาษณ์ 17-28 เมษายน 2566
- ประกาศผลการคัดเลือก 17 พฤษภาคม 2566
- ประกาศรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ (สอบสัมภาษณ์) กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา ครั้งที่ 2/2566
- ใบสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ (สอบสัมภาษณ์) 2/2566 กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา
- ใบสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ (สอบสัมภาษณ์) 2/2566 กรณีพิเศษ มีประสบการณ์ทำงาน
- ประกาศรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท ภาคปกติ (สอบสัมภาษณ์) กรณีพิเศษ มีประสบการณ์ทำงาน ครั้งที่ 2/2566
- สมัคร บัดนี้ - วันที่ 12 เมษายน 2566
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์วันที่ 19 เมษายน 2566
- สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23 เมษายน 2566
- ประกาศผลคัดเลือก วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
- สมัครออนไลน์ บัดนี้ - วันที่ 12 เมษายน 2566
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันที่ 19 เมษายน 2566
- สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23 เมษายน 2566
- ประกาศผลคัดเลือก วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
- Registration and payment for the registration fee will be held on May 2 - 19, 2023
- Online Application (Now – April 12, 2023)
- Announcement of Eligible Applicants for Interview on April 19, 2023
- Documents for Registering as a Student on May 1 - 19, 2023
- The Interview Examination will be held on April 23, 2023
- Interview Examination Results will be announced on May 1, 2023
- Orientation will be announced.
- School starts on August 12, 2023
- Application Form for Admission to Master of Arts Program in Communication Arts and Innovation (English Program)
- Announcement Application for Admission to Master of Arts Program in Communication Arts and Innovation (English Program) Special Program (Weekend Program) Special Program (Weekend Program) Semester 1, Academic Year 2023 (1/2023)
- ใบสมัคร สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม (โครงการทุน Partners Link-up)
- ประกาศรับสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม (โครงการทุน Partners Link-up)
- ใบสมัคร สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล (โครงการทุน Partners Link-up)
- ประกาศรับสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล (โครงการทุน Partners Link-up)
- สมัครออนไลน์ บัดนี้ - วันที่ 12 เมษายน 2566
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันที่ 19 เมษายน 2566
- สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23 เมษายน 2566
- ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
- เปิดภาคเรียน วันที่ 12 สิงหาคม 2566
- รับสมัคร บัดนี้ - วันที่ 7 กรกฎาคม 2566
- ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบสัมภาษณ์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2566
- สอบคัดเลือก วันที่ 16 กรกฎาคม 2566
- ประกาศผลการสอบคัดเลือก วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
- วันเปิดภาคการศึกษา วันที่ 12 สิงหาคม 2566
- รับสมัคร บัดนี้ - วันที่ 7 กรกฎาคม 2566
- ประกาศรายชื่อและสถานที่สอบสัมภาษณ์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2566
- สอบคัดเลือก วันที่ 16 กรกฎาคม 2566
- ประกาศผลการสอบคัดเลือก วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
- วันเปิดภาคการศึกษา วันที่ 12 สิงหาคม 2566
ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมเป็นหลักสูตรขั้นสูงที่มีการบูรณาการและประยุกต์นวัตกรรมแนวคิดเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านการสื่อสารกับงานด้านอื่นๆแบบสหวิทยาการเป็นหลักสูตรที่นำเสนอนวัตกรรมองค์ความรู้นิเทศศาสตร์ยุคใหม่ในมุมมองที่ต่างจากอดีตและเสนอมุมมองที่เป็นนวัตกรรมในภาพกว้างจึงนับเป็นการบูรณาการศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์นักนิเทศศาสตร์และบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดใหม่และทันสมัยเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกด้านทั้งเทคโนโลยีสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้ง ในการสังเคราะห์การวิจัย การวางแผน การประเมินผลและการพัฒนาการดำเนินงานในเชิงประยุกต์
- แบบ 2 (2.1) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและมีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติม โดยต้องทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 18 หน่วยกิต
- แบบ 2 (2.2) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและมีการศึกษารายวิชาเพิ่มเติม โดยต้องทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 42 หน่วยกิต
- แบบ 1 (1.1) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยการทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และอาจมีการเรียนรายวิชาเพิ่มเติมได้ โดยไม่นับหน่วยกิต ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและตามดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือสภาสถาบันให้การรับรองวิทยฐานะ (กรณีแบบ 1(1.1) และแบบ2(2.1))
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีผลการศึกษาดีเด่นจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลหรือเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือสภาสถาบันให้การรับรองวิทยฐานะ (กรณีแบบ 2(2.2))
- การมีประสบการณ์การทำงานให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
- พิจารณาจากเค้าโครงวิทยานิพนธ์ คะแนนภาษาอังกฤษ การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์์
- เปิดสอนในวันเสาร์ - อาทิตย์ ซึ่งผู้ศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายใน ระยะเวลาประมาณสามปี
- แบบ 1 (1.1) ประมาณ 547,500 บาท
- แบบ 2 (2.1) ประมาณ 667,500 บาท
- แบบ 2 (2.2) ประมาณ 931,500 บาท
- แบบ 2 (2.2) ประมาณ : 1,225,500 บาท (การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ)
- แบบ 1 (1.1) ประมาณ : 829,500 บาท (การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ)
- แบบ 2 (2.1) ประมาณ : 931,500 บาท (การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ)
- ขอรับใบสมัครที่กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ
- สมัครออนไลน์ ได้ที่ http://entrance.nida.ac.th/
- สมัครออนไลน์ บัดนี้ - 27 มิถุนายน 2566
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
- สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ วันที่ 9 กรกฎาคม 2566
- ประกาศผลการคัดเลือก วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
- รับเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา วันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2566
- ชำระเงินค่าลงทะเบียน วันที่ 22 - 31 กรกฎาคม 2566
- ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แจ้งให้ทราบภายหลัง
- เปิดภาคเรียน วันที่ 12 สิงหาคม 2566
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Facebook นิเทศ at NIDA เบอร์โทรศัพท์ : 0-2727-3759, 0-2727-3764, 09-0678-4690 E-mail : gscm@nida.ac.th
ผู้สนใจเข้าสมัครทุนการศึกษา
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการให้ทุนส่งเสริมการศึกษา
- 1.1 ทุนส่งเสริมการศึกษา(ประเภทเรียนดี)จะให้สำหรับนักศึกษาใหม่ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ในหลักสูตรต่างๆของสถาบัน
- 1.1.1 รับทุนส่งเสริมประเภท1 Full scholarship
- - ระดับปริญญาเอกจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
- - ระดับปริญญาโทจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
- 1.1.2 รับทุนส่งเสริมประเภทที่ 2
- - ระดับปริญญาเอกจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25
- - ระดับปริญญาโทจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75
- 1.1.3 รับทุนส่งเสริมประเภทที่ 3
- - ระดับปริญญาเอกจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.25
- - ระดับปริญญาโทจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
- 2.1 ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่1 (Full Scholarship)
- 2.1.2 สนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุน ภาคการศึกษาละ 30,000.-บาท และภาค ฤดูร้อน ภาคละ 15,000.-บาท
- 2.2 ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่2 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
- 2.3 ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่3 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตกึ่งหนึ่งตลอดหลักสูตร
- 2.1.1 จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร ส่วนการยกเว้นค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละหลักสูตร
- 3.1 ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทเรียนดี รับทุนส่งเสริมประเภท1 Full scholarship จะต้องได้รับเกรดเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 และผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่2 และผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่3 จะต้องได้รับเกรดเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธ์รับทุน
- 3.2 ผู้รับทุนลาพักการศึกษาจะหมดสิทธ์ในรับทุนการศึกษาทันที และหากภายหลังขอลาออก หรือสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือกรณีที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการศึกษา จะต้องคืนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดให้กับสถาบัน เว้นแต่คณะกรรมการจะพิจรณาเป็นอย่างอื่น
- 3.3 ผู้รับทุนลาออก หรือสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือกรณีที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการศึกษา หรือขอยกเลิกการรับทุนจะต้องคืนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดให้กับสถาบัน เว้นแต่คณะกรรมการจะพิจรณาเป็นอย่างอื่น
- 3.4 กรณีที่ผู้รับทุนต้องลงทะเบียนเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งซ้ำ ผู้รับทุนจะไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาในวิชาที่ลงทะเบียซ้ำ
- 3.5 กรณีที่ผู้รับทุนลงทะเบียนเรียนวิชาที่นอกเหนือจากแผนการศึกษาของหลักสูตร จะได้รับยอเว้นค่าลงทะเบียนเรียนวิชานั้นได้ ต่อเมื่อผู้รับทุนได้รับคำแนะนำจกอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นๆ
- 3.6 ผู้รับทุนจะต้องทำงานให้กับคณะ หรือสถาบัน ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ6ชั่วโมง
- 3.7 ผู้รับทุนนี้ไม่มีสิทธ์ที่จะไปขอทุนอื่นๆ ของสถาบัน ยกเว้นทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากเงินงบประมาณแผ่นดิน
- 4.1 ผู้รับทุนในระดับปริญญาโทจะต้องศึกษาในแผน ก.(ทำวิทยานิพนธ์)
- 4.2 ผู้รับทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการสมัครสอบประมวลความรู้เฉพาะในการสมัครสอบครั้งแรกเท่านั้น
- 4.3 ค่ารักษาสถานภาพหากเกินระยะเวลการรับทุน ให้ผู้รับทุนเป็นผู้ชำระค่ารักษาสถานภาพ
- 4.4 ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ให้เป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างนักศึกษาผู้รับทุนสถาบัน เป็นระยะเวลา 5ปี หลังจากนั้นให้ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ตกเป็นของนักศึกษาผู้รับทุน หากผู้รับทุนดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์นั้นแต่เพียงผู้เดียว
- 4.5 ค่าธรรมเนียมการตรวจรูปแบบวิทยาพนธ์ ให้ผู้รับทุนเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม
- 4.6 ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) กำหนด โดยไม่รวม Proceedings
- 4.7 ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ICT (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่ม1 และกลุ่ม2) โดยไม่รวม Proceedings
- 5.1 ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ ที่มีPeer Review หรือ
- 5.2 เสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (proceedings) ที่มีPeer Review โดยต้องเป็นบทความวิจัยเต็มรูปแบบ ZFull PaperXที่ได้ตีพิทพ์เรียบร้อยแล้ว หรือ
- 5.3 ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน หรือได้รับรางวัลจากการประกวดทางวิชาการ ซึ่งต้องเป็นการแข่งขันหรือการประกวดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะบดีคณะที่เข้าศึกษา หรือ
- 5.4 เสนอผลงานในองค์กรหรือชุมชนเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเป็นองค์กรหรือชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะบดีคณะที่เข้าศึกษา โดยผลงานการพัฒนาจะต้องได้รับรองผลงานจากผู้บริหารองค์กรหรือชุมชนด้วย หรือ
- 6.1 ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ ที่มีPeer Review หรือ
- 6.2 เสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (proceedings) ที่มีPeer Review โดยต้องเป็นบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full Paper)ที่ได้ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว หรือ
- 6.3 ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน หรือได้รับรางวัลจากการประกวดทางวิชาการ ซึ่งต้องเป็นการแข่งขันหรือการประกวดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะบดีคณะที่เข้าศึกษา หรือ
- 6.4 เสนอผลงานในองค์กรหรือชุมชนเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเป็นองค์กรหรือชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะบดีคณะที่เข้าศึกษา โดยผลงานการพัฒนาจะต้องได้รับรองผลงานจากผู้บริหารองค์กรหรือชุมชนด้วย หรือ
- 6.5 ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
- 7.1 หลักสูตรปริญญาโท ให้ได้รับทุนเป็นระยะเวลา 2ปี
- 7.2 หลักสูตรปริญญาเอก ให้ได้รับทุนเป็นระยะเวลา 3ปี
- 7.3 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ให้ได้รับทุนเป็นระยะเวลา 4ปี