JOURNAL

Journal of communication and innovation NIDA

วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า

วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร

วารสารทั้งหมด

วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า

Journal of communication and innovation NIDA

  วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ได้การรับรองคุณภาพและคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 (จนถึง 31 ธันวาคม 2567)                                                                                                                                                                                       

 

 กำหนดการเปิดรับบทความ

*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแหล่งในการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

2. เพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์บุคลากร และนักศึกษา

 

ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร

            1. เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงานบทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research article) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทัศน์ (Review article)

            2. กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

 

หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ

            1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด

            2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างต่ำตามเกณฑ์มาตรฐาน คือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านขึ้นไปต่อบทความ

            3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์

            4. การยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง

 

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

            วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร

 

ลักษณะของบทความที่จะรับ

            1. บทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการในสาขานิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร ที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

            2. ต้นฉบับงานจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกบทความ

 

ประเภทของบทความที่จะรับ

            1. บทความวิชาการ (Article)

            2. สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความวิจัย (Research article)

            3. บทความปริทัศน์ (Review article)

            4. วิจารณ์หนังสือ (Book review)

รูปแบบการเขียนบทความ

            - บทความต้องมีความยาวจำนวน 12-15 หน้า กระดาษ A4

            - รูปแบบตัวอักษร Cordia New

  • ชื่อเรื่อง ใช้อักษร ขนาด 17 พอยท์ ตัวหนา และจัดให้อยู่กึ่งกลาง
  • หัวข้อ ใช้อักษร ขนาด 17 พอยท์ ตัวหนา และจัดให้อยู่ชิดซ้าย
  • ชื่อผู้เขียน ใช้อักษรขนาด 15 พอยท์ ตัวเอียง และจัดให้อยู่ชิดขวา 
  • ตำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงาน/สถาบัน ของผู้เขียนทุกคนในเชิงอรรถด้านล่างกระดาษ ใช้ตัวอักษรขนาด 13 พอยท์ และจัดอยู่ชิดซ้าย
  • เนื้อหา ใช้อักษร ขนาด 15 พอยท์
  • การกั้นขอบกระดาษ ด้านบน 1 นิ้ว ด้านล่าง 1 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้ว ด้านขวา 1 นิ้ว
  • การอ้างอิงในเนื้อความ ใช้ระบบ APA Style
  • บรรณานุกรม แยกเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ใช้ตามแบบที่วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า กำหนด

 

ส่วนประกอบของบทความ มีดังนี้

บทความวิจัย

            ก. หน้าแรก บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย 1 หน้า และภาษาอังกฤษ 1 หน้า ประกอบด้วย

            1. ชื่อบทความ (Title)

            2. ชื่อผู้เขียนทุกคน (Authors) ให้ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม

            3. ให้เขียนตำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงาน/สถาบัน ของผู้เขียนทุกคนในเชิงอรรถด้านล่างกระดาษ

            4. ให้เขียนเครื่องหมาย* ไว้บนชื่อบทความเพื่อระบุแหล่งทุนที่ได้รับการอุดหนุนไว้ในเชิงอรรถและให้เขียนเครื่องหมาย** ไว้หลังนามสกุลเพื่อระบุสังกัด ภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย เมือง จังหวัด ไว้ในเชิงอรรถ

            5. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 200 คำ

            บทคัดย่อบทความวิจัย ขอให้เขียนบทคัดย่อแยกเป็น 3 ย่อหน้า   ย่อหน้าแรกให้ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัย สมมติฐาน ประโยชน์ที่จะได้รับ ย่อหน้าที่ 2 ให้อธิบายวิธีวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ย่อหน้าที่ 3 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)

            บทคัดย่อบทความวิชาการ ให้เขียนสรุปประเด็นสำคัญของบทความพร้อมทั้งตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ถูกต้องก่อนส่งบทความ

6. คำสำคัญ (Keywords) ความยาวไม่เกิน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

            7. ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding author) ให้ทำเครื่องหมายไว้บนนามสกุลและระบุหมายเลขโทรศัพท์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ไว้ในเชิงอรรถ

            ข. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

            1. บทนำ 

            2. วัตถุประสงค์ 

            3. ทบทวนวรรณกรรม

            4. กรอบแนวคิดการวิจัย

            5. ระเบียบวิธีวิจัย

            6. ผลการวิจัย

            7. อภิปรายผล

            8. ข้อเสนอแนะ

            9. บรรณานุกรม

 

จริยธรรมการตีพิมพ์

      วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นวารสารที่นำเสนอบทความงานวิจัยและบทความทางวิชาการทุกลักษณะ ขอบข่ายครอบคลุมงานวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์ นวัตกรรม และการสื่อสาร  เพื่อให้การดำเนินงานของวารสารเกิดมีคุณภาพ อีกทั้งมสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ตามหลักจริยธรรม จึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้เขียน 

     1. ผู้เขียนต้องรับรองว่า บทความที่ส่งเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารอื่น

     2. ผู้เขียนต้องรับรองว่า ไม่ได้บิดเบือนข้อมูล แก้ไข หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

     3. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการบทความจริง

     4. ผู้เขียนบทความที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องทำการอ้างอิงผลงานดังกล่าวตามรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนและต้องมีบรรณานุกรม (Reference) ท้ายบทความ

     5. ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารที่ได้กำหนดไว้

     6. ผู้เขียนบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง

     7.ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนบทความแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง

     8.ผู้เขียนบทความต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการ

     1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของบทความ ให้เป็นไปตามขอบเขต มาตรฐานของวารสาร

     2. บรรณาธิการต้องรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร และพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ

     3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน ผู้ประเมิน และต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลได้เป็นอย่างดี

     4. บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความด้วยความเป็นธรรม ปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบทความ และผู้เขียน

     5. หากตรวจพบว่า บทความมีการคัดลอกหรือลอกเลียนแบบจากบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ

     6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน หรือผู้ประเมิน และต้องไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือนำไปเป็นผลงานของตนเอง

     7. บรรณาธิการไม่ควรเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของตน

บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ประเมินบทความ

     1. ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความ พิจารณาบทความภายใต้หลักการทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบทความ และผู้เขียน

     2. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความในระยะของการประเมิน หรือจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการเผยแพร่ในวารสารอย่างเป็นทางการ

     3. ผู้ประเมินบทความควรให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำตามหลักวิชาการที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความ

     4. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน

     5. ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบว่า มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น สร้างข้อมูลเท็จ และหรือ ปลอมแปลงข้อมูล

 

วิธีการส่งบทความ

            ผู้เสนอบทความส่งไฟล์บทความพร้อมกรอกข้อมูลผู้เขียน ได้ทางลิ้งค์ส่งบทความด้านล่าง 

            กองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในทัศนะ ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในข้อเขียนต่างๆ ของวารสาร เพราะถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ความคิดเห็นหรือความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำประการใด

 

เล่มวารสาร คลิกด้านล่าง

www.tci-thaijo.org/index.php/jcin

ส่งบทความ

ส่งบทความ